Friday, June 14, 2013

วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม หรือ ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ

วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม หรือ ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ
 ใช้เส้นทางจากบางแสน มุ่งหน้าไปอ่างศิลา ใช้ถนนบางแสนสาย 2 เลี้ยวเข้าถนนบางแสน-อ่างศิลา ขับตรงไปจนผ่านโรงเรียนบ้านปากคลอง จะเห็นวิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม หรือ ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ


วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม หรือศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ
ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างศิลา มีเนื้อที่ 4 ไร่ เป็นศาลเจ้าจีนที่ก่อสร้างโดยมูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์อย่างสวยงามใหญ่โต ตั้งอยู่ริมเส้นทางเลียบชายทะเลจากอ่างศิลาไปเขาสามมุข มีตึก 4 ชั้น ภายในโอ่โถงตระการตาด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน จุดเด่นด้านศิลปวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ รูปปั้นมังกรซึ่งมีมาถึง 2,840 ตัว กระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ เสาฟ้าดิน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่มีองค์ไท้ส่วยเอี้ย (ดาวเทพคุ้มครองดวงชะตาประจำปีเกิดของมวลมนุษย์) ครบ 60 องค์ ให้ผู้มาเยือนได้ขอพรได้ตรงตามปีเกิด  

 

ประวัติศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ
สร้างขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2534 โดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ สร้างเป็นศาลเจ้าขนาดเล็กบนเนื้อที่ 200 ตารางวา
ต่อมาด้วยบารมี แห่งองค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อทำให้ศิษยานุศิษย์ พ่อค้าและประชาชนที่เคารพ เลื่อมใส ร่วมบริจาคทุนสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฏาคม 2538 โดยอาจารย์สมชาย เฉยศิริ เป็นผู้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยมีวัตถุประสงค์สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใช้เวลาก่อสร้างกว่า 4 ปี บนเนื้อที่ 4 ไร่ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2541 สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จมาเป็นประธานพิธีเททองหล่อพระพุทธ 7 องค์ และพระราชทานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า "วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม" ขยายอาคารและเนื้อที่ ประกอบด้วย อาคารหลัก 3 หลัง หอฟ้าดิน 1 หลัง บนเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่

 

ประวัติองค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ (องค์พระจตุรพิธพรชัยเทพ)
องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ เป็นตำนานที่เล่าขานกันมาแต่ครั้งบุราณกาล สมัยปลายราชวงศ์เชียงต้นรางวงศ์จิวมีจิวบุ้นอ้วงเป็นฮ่องเต้ ในยุคนั้นผู้ที่นับว่าเป็นอัจฉริยะมี "เกียงจื๋อเง้" หรือเกียงไท้กง และหน่าจาซาไท้จื้อ องค์เทพเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อเป็นบุตรคนที่ 3 ของแม่ทัพหลี่เจ๋ง กับนางฮิง บุตรคนโตชื่อ "กิมจา" และคนรองชื่อ "บักจา" มารดาตั้งครรภ์หน่าจาเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน จึงคลอด หลังจากคลอดแล้ว หน่าจาแทนที่จะเป็นเด็กทารกดั่งเช่นเด็กทั่วไป กลับเป็นก้อนเนื้อทรงกลม ๆ ที่ห่อหุ้มไว้ด้วยเนื้อเยื่อและรกพันเต็มไปหมด ยังความตกใจและประหลาดใจแก่แม่ทัพหลี่เจ๋งและนางฮิง ผู้เป็นบิดา ด้วยความประหลาดดังกล่าว หลี่เจ๋งผู้เป็นบิดาจึงใช้กระบี่ฟันก้อนเนื้อ ปรากฏว่าภายในก้อนเนื้อนั้น เป็นเด็กทารกเพศชาย ซึ่งในมือขวาถือห่วงทองคำและรอบตัวพันด้วยผ้าแพรสีแดง ยังความปิติยินดีให้กับครอบครัว ขุนนางใหญ่น้อยได้มาแสดงความยินดีกับแม่ทัพหลี่เจ๋ง ในขณะนั้นมีนักพรตท่านหนึ่งมีนามว่า "ไท้อิกจิงยิ้ง" ซึ่งบำเพ็ญศีล ภาวนาอยู่ ณ ยอดเขาเคี่ยงง่วนซัวกิมกวงตัง หรือปัจจุบันเรียกว่า "ไท้อิกติ่ง" มาร่วม แสดงความยินดีด้วย และเมื่อได้เห็นบุคลิกลักษณะของเด็กน้อยก็เกิดความชื่นชมพร้อมกับ ได้ชี้แจงให้แม่ทัพหลี่เจ๋ง และนางฮิงทราบว่า ห่วงทองและผ้าแดงที่ติดตัวมานั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้มีบุญญาบารมีสูง อีกทั้งได้รับตัวเด็กน้อยไว้เป็นศิษย์ และตั้งชื่อให้ว่า "หน่าจา" เพื่อถ่ายทอดวิชา

No comments:

Post a Comment

Popular Posts